บทกาหนดโทษ ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) มีรายละเอียดดังนี้
เจ้าของโรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุม
1. แจ้งรายละเอียด หรือเหตุผลอันเป็นเท็จในการขอผ่อนผันการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จาคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 150,000 บาท หรือ ทั้งจาทั้งปรับ (มาตรา 53)
2. ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการใช้พลังงานภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับคาสั่งจากอธิบดี พพ. ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท (มาตรา 54) ถ้าชี้แจงเป็นเท็จมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
3. ไม่ปฏิบัติตามที่ พ.ร.บ. กาหนด เช่น การจัดการด้านพลังงาน หรือ จัดให้มีผู้รับผิดชอบ ด้านพลังงาน ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท (มาตรา 55)
4. ขัดขวางหรือไม่อานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ในการเข้าตรวจสอบโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด ปรับไม่เกิน 5 พันบาท (มาตรา 59)
ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1.เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และมีประสบการณ์การทางานในโรงงานหรืออาคารอย่างน้อยสามปี โดยมีผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามการรับรองของเจ้าของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมอย่างน้อย
2. เป็นผู้ได้รับปริญาทางวิศวกรรมศาสตร์หรือทางวิทยาศาสตร์โดยมีผลงานด้านการอนุรักษ์พลังานตามการรับรองของของเจ้าของโรงงานควบคุม/เจ้าของอาคารควบคุม
3. เป็นผู้สาเร็จการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงาน หรือการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันที่อธิบดีพพ. ให้ความเห็นชอบ
4. เป็นผู้ที่สาเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโสหรือการฝึกอบรมที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันที่อธิบดีพพ. ให้ความเห็นชอบ
5. เป็นผู้ที่ผ่านการสอบตามเกณฑ์หลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ ในการอนุรักษ์พลังงานร่วมกับเจ้าของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมด้วย ดังนั้น หากผู้รับผิดชอบไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ เช่น
- บารุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ
- ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน
- ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุมในการจัดการพลังงาน
- ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุม หรือเจ้าของอาคารควบคุมชี้แจงต่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้
พลังงานต่อ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายใน 30 วันนับแต่มีคาสั่ง
ก็ต้องได้รับโทษ ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท (มาตรา 55)
ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
ทำหน้าที่ ตรวจสอบ และรับรองการจัดการพลังงานให้กับโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมให้
เป็นไปตามกาหนดของพพ. หากรายงานผลการตรวจสอบและรับรองเป็นเท็จ หรือ ไม่ตรงความจริง
- จาคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ
- ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือ
- ทั้งจาทั้งปรับ (มาตรา 56)
หมายเหตุ
- ถ้าผู้รับใบอนุญาตถูกฟ้องต่อศาล อธิบดีมีอานาจสั่งพักใบอนุญาต (มาตรา 48/3)
- ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุด อธิบดีเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 48/2)
บุคคลที่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุน
1. ผู้ผลิตน้ามันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและจาหน่าย เพื่อใช้ในราชอาณาจักร
2. ผู้นาเข้าน้ามันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
3. ผู้ซื้อหรือได้มาซึ่งก๊าซ จากผู้รับสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติ
ผู้มีหน้าที่ดังกล่าว
- ไม่ส่งเงินเข้ากองทุน หรือ
- ส่งเงินเข้ากองทุนแต่ส่งไม่ครบตามที่กฎหมายกาหนด
บทลงโทษ
- จาคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 2 ปี หรือ
- ปรับตั้งแต่ 1 แสนบาทถึง 10 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ (มาตรา 58)
ค่าธรรมเนียมพิเศษ
เจ้าของโรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุมจะต้องดาเนินการตามกฎกระทรวง ในเรื่องการจัดการพลังงาน โดยมีกาหนดระยะเวลาให้ดาเนินการ 3 ปี หากฝ่าฝืน ไม่ดาเนินการตามกฎกระทรวงในเรื่องการจัดการพลังงาน จะต้องชาระค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้ไฟฟ้า (มาตรา 42)
กรณีเป็นโรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุมอยู่ก่อน/ในวันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับแล้ว จะต้องดาเนินการจัดการพลังงาน ภายใน 3 ปีนับแต่กฎกระทรวงมีผลบังคับ
กรณีเป็นโรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุม ภายหลังวันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับ จะต้องดาเนินการจัดการพลังงานภายใน 3 ปีนับแต่วันที่เข้าเป็นโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
ต้องชาระค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้ไฟฟ้า ตามที่คณะกรรมการกองทุนโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกาหนด